Learning Outcomes 3

Thursday 24th January 2019
❤ ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีพัฒนาการ
 -  พัฒนาการทางศิลปะของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
 - ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
 - ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
- ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
- ทฤษฎีโอตา  (Auta)



ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
    กิลฟอร์ด  อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3  มิติ
  มิติที่ 1     เนื้อหา
  มิติที่ 2     วิธีการคิด
  มิติที่ 3     ผลของการคิด
     เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง  120    ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ  คือ มีเนื้อหา  4 มิติ   วิธีการคิด  5  มิติ     และผลทางการคิด  6  มิติ
     รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย   คือ วิธีการคิดอเนกนัย  เป็นการคิดหลายทิศทาง  หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล  ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วย
     - ความคล่องแคล่วในการคิด
     - ความยืดหยุ่นในการคิด
     - ความริเริ่มในการคิด   
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น
     - ขั้นการค้นพบความจริง
     -ขั้นการค้นพบปัญหา
     - ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
     - ขั้นการค้นพบคำตอบ
     - ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
     ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความ
รู้สึกไวต่อปัญหา  หรือสิ่งที่ขาดหายไป   แล้วเกิดความพยายามใน
การสร้างแนวคิด  ตั้งสมมุติฐาน  ทดสอบสมมุติฐาน  และเผยแพร่ผล
ที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ  ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่ง
แปลกๆใหม่ๆต่อไป
     ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์  ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ ว่า  
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
      ระบบการศึกษาส่วนใหญ่  มุ่งการพัฒนาสมองซีกซ้าย ด้วยการให้เด็กท่องจำ คำนวณ  คิดเลข  สรรหาถ้อยคำ  วิเคราะห์ข้อมูล และอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่กันไป การคิดจินตนาการ  การคิดแปลกใหม่  ความเป็นศิลปิน จึงไม่ค่อยมีโอกาสพัฒนา
      แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก ได้ถูกนำไปใช้
ประโยชน์และพัฒนาการจัดการศึกษา
      - ผู้เรียนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมแบบบูรณาการ
      - มีการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ หรือ 4 MAT
      - มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์  (Gardner)
     ทฤษฎีพหุปัญญา จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน  ได้แก่
     - ความสามารถด้านภาษา                     
     - ความสามารถด้านตรรกวิทยาแลคณิตศาสตร์
     - ความสามารถด้านดนตรี                     
     - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
     - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
     - ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์       
     -  ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
     - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
     - ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา

ทฤษฎีโอตา (AUTA)
     เดวิส (Davis) และซัลลิแวน (Sullivan) ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 
     - การตระหนัก 
     - ความเข้าใจ
     - เทคนิควิธี 
     การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ

พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ
     เคลล็อก (Kellogg)  ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง  ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ 

ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement  stage)
     - เด็กวัย 2 ขวบ
     - ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
     - ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
     - ขีดโดยปราศจากการควบคุม

ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape  stage)
     - เด็กวัย 3 ขวบ
     - การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
     - เขียนวงกลมได้
     - ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น  
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
เด็กวัย 4 ขวบ
ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage)เด็กวัย 5 ขวบ
ขึ้นไป
เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/ สัตว์ได้
ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
วาดสามเหลี่ยมได้


     ต่อมาอาจารย์ได้ให้นำผลงานศิลปะที่ในทำสัปดาห์มาจัดแสดงหน้าห้องและสรุปผลงาน








ผลงานของทุกๆคนในห้องเรียน แต่ละคนสวยๆทั้งนั้น






❤ การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ สนใจงาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำ สอนเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น