Article Creative Art Provision for Early Childhood

แนวความคิดและแนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะ
สำหรับเด็กปฐมวัย  (คลิก)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรพงษ์  แพทย์หลักฟ้า
หัวหน้าสาขาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

      การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย  นับว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ในช่วงวัยที่สำคัญมากเพราะเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ศักยภาพของการเรียนรู้ของเด็กเจริญงอกงามอย่างรวดเร็วมากถ้าได้รับการพัฒนาอย่างเข้าใจ นอกจากนี้พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ก็สามารถส่งเสริมให้พัฒนาขึ้นได้เป็นปริมาณมากด้วยกิจกรรมการเรียนรู้บนฐานของความเข้าใจด้วยเช่นกันเป็นที่ยอมรับกันว่าการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัยรวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพทางการเรียนรู้ของเด็กผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปะ  เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ทั้งนี้เพราะกิจกรรมศิลปะสนุกจะและสามารถกระตุ้นความสนใจของเด็กให้อยากเรียนรู้ศิลปะได้เป็นอย่างดีจึงทำให้เด็กปฐมวัยชอบแสดงออกทางศิลปะนอกจากนี้กิจกรรมศิลปะยังเป็นกิจกรรมที่สามารถตอบสนองการแสดงออกทางด้านจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างอิสระเพราะเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นไม่มีหลักเกณฑ์เรื่องความถูกหรือผิดมากำหนดกิจกรรมศิลปะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความชอบ  ของผู้แสดงออกมากกว่าจึงมีธรรมชาติของกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจของเด็กปฐมวัยอย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กผู้จัดกิจกรรมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดีเพราะการสอนศิลปะเป็นดาบสองคมหากผู้จัดกิจกรรมหรือผู้สอนศิลปะเข้าใจเด็กก็เป็นเรื่องที่ดีแต่ถ้าพัฒนาอย่างขาดความเข้าใจแทนที่จะส่งเสริมพัฒนาเด็กอาจกลายเป็นการทำลายไปเสียก็ได้ 
     การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กนั้นผู้จัดกิจกรรมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดกิจกรรมต้องมีการศึกษาทดลองและพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นระบบ เด็กปฐมวัยเป็นเด็กในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่พัฒนาการด้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์กำลังเจริญเติบโตจึงต้องการการส่งเสริมด้วยกิจกรรมศิลปะที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาอย่างเข้าใจและยั่งยืนกิจกรรมศิลปะที่มีรากฐานมาจากความคิดที่หลากหลายและผ่านการทดลองอย่างเป็นระบบจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อเด็กเป็นอย่างมากเสรีภาพทางความคิดและการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะตามความต้องการของผู้เรียนเป็นการสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ที่ครูศิลปะจะต้องจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพราะการที่เด็กแสดงออกได้มากเท่าไรนั่นย่อมหมายความว่าเขาได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้มากเท่านั้นและนั่นย่อมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นเมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้ว  และนั่นยอมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้วเด็กอาจยุ่งยากใจกับการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงแต่ในโลกแห่งศิลปะเขามีวิธีการในการเข้าไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาเสมอถ้าครูหรือผู้ปกครองไม่เข้าไปแย่งชิงช่วงเวลาอันมีคุณค่าของการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ตามเสรีภาพของเด็กด้วยความหวังดีที่ขาดความเข้าใจ  
 จากมูลเหตุดังกล่าวการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สะท้อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญและเน้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจึงต้องเป็นกิจกรรมศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นบนฐานคิดทฤษฎี ที่หลาหลาย หรือสร้างขึ้นจากมุมมองหลายมิติเพื่อให้ได้กิจกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและซับซ้อนของสภาพสังคมปัจจุบันกิจกรรมพหุศิลปศึกษาเป็นกิจกรรมที่สะท้อนศาสตร์พหุศิลปศึกษาหรืออีกนัยหนึ่งพหุศิลปศึกษาก็คือศิลปศึกษาในมิติใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนฐานคิดทฤษฎีที่หลากหลาย ดังที่ วิรุณ ตั้งเจริญ (2545 : 45-50)ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาศิลปศึกษามาสู่พหุศิลปศึกษา  โดยมีฐานคิดทฤษฎีรองรับ 5 ทฤษฎี ตามรายละเอียดดังนี้ 
     “ศิลปศึกษาต้องพัฒนาเป็นพหุศิลปศึกษา (Arst Education) ศิลปะที่ครอบคลุมทั้งทัศนศิลป์การแสดงดนตรีและศิลปะอื่นๆพหุศิลป์ที่ครอบคลุมศิลปะที่หลากหลายเชื่อมโยงบริบทศิลปะ  และบริบทสังคมการศึกษาที่ครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้การศึกษาที่มีสภาพเป็นมรรค มากกว่าผลพหุศิลปศึกษาประกอบด้วย 
1.พหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (Discipline-based  Arst  Education) 
2.พหุศิลปศึกษาเชิงพหุปัญญา(Multiple-intelligences  Arst  Education) 
3.พหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทย(Thai Wisdom  Arst  Education) 
4.พหุศิลปศึกษาเชิงศิลปะหลังสมัยใหม่(PostmodeArst Education) 
5.พหุศิลปศึกษาเชิงความสามารถพิเศษ(GeftednessArst  Education)

พหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (Discipline-based  Arst  Education)
ได้พัฒนาแกนสำคัญในการสอน 4 แกน ดังนี้ 
1.ประวัติศาสตร์ศิลป์(Arst  History)   
2.สุนทรียศาสตร์  (Aesthetics)   
3.ศิลปวิจารณ์  (Art  Criticism)  
4.ศิลปะสร้างสรรค์  (Creating  Art) 

พหุศิลปศึกษาเชิงพหุปัญญา(Multiple-intelligencesArst Education) 
 ทฤษฎีวิวัฒนาการของสมองและทฤษฎีพหุปัญญา(Theoryof Multiple Intellgences)ของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์  (Howard Gardener) ว่าด้วยความฉลาดและเชาวน์ปัญญาภายในตัวของมนุษย์8ด้านได้แก่
1.
ปัญญาด้านภาษา  (Linguistic  Intelligence)     
2.ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์(Logical-Mathematical  Intelligence)  
3.ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์  (Spatial  Intelligence)     
4.ปัญญาด้านร่างกายและความเคลื่อนไหว(Bodily-Kinedthetic  Intelligence)  
5.ปัญญาด้านดนตรี  (Musical  Intelligence)     
6.ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Interpersonal  Intelligence)    
7.ปัญญาด้านตนเองหรือความเข้าใจตนเอง(Interpersonal  Intelligence)   
8.ปัญญาด้านนักธรรมชาติวิทยา  (Naturalist  Intelligence)    

 ทฤษฎีพหุปัญญาด้วยความฉลาดและเชาวน์ปัญญาภายในตัวของมนุษย์ทั้ง  8  ด้าน  ซึ่งเกี่ยวกับสมองทั้ง  2  ซีกของมนุษย์นั้น  ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยาและการพัฒนาไปสู่ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงพหุปัญญา(อ่าน อารี สัณหฉวี.2535)

พหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทยการศึกษาทางด้านพหุศึกษาสามารถเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาจากอดีตภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาร่วมสมัยสามารถนำมาพัฒนาเป็นกระบวนการสอนศิลปศึกษาโดยแยกกิจกรรมเรียนรู้  ดังนี้    
1.การแสวงหาความรู้ภูมิปัญญาไทยจากบุคคลในรูปแบบการพูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์ จากผู้รู้พื้นบ้าน พระสงฆ์ ผู้สอนศาสนา ผู้เฒ่า ศิลปินช่างพื้นบ้านผู้ประกอบการในแต่ละอาชีพภูมิปัญญาที่เป็นความคิด ขนบธรรมเนียมประเพณี  ฯลฯ     
2.การแสวงหาความรู้ ภูมิปัญญาไทยจากเอกสารการบันทึกต่างๆ เช่น จากสมุดข่อย หนังสือจดหมายเหตุงานวิจัย ทั้งทางด้านปรัชญา ความคิด การดำรงชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ  
3.การพัฒนาภูมิปัญญาไทยเราสามารถอนุรักษ์สืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาให้เหมาะสมสอดคล้องกับปัจจุบันเหมาะสมสอดคล้องกับชุมชน ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ 
4.การแสวงหาความรู้ภูมิปัญญาจากประสบการณ์ตรง โดยการเดินทางสู่แหล่งข้อมูลใช้ชีวิตฝังตัวอยู่ในแหล่งข้อมูลหรือแหล่งประสบการณ์เรียนรู้สังเกตซึมซับประสบการณ์รอบตัวด้วยตนเอง 

พหุศิลปศึกษาเชิงศิลปะสมัยใหม่       
ความเชื่อแบบลัทธิหลังสมัยใหม่พัฒนามาตั้งแต่กลางศตวรรษที่20 เป็นต้นมาสามารถสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับศิลปะหลังสมัยใหม่ได้ดังนี้     
1.รูปแบบศิลปะตามแนวคิดของกลุ่มหลังสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการในการสร้างศิลปะด้วยสื่อที่หลากหลาย        
2.ผลงานศิลปะในความคิดของกลุ่มสมัยใหม่จะปราศจากความหมายในตัวของมันเอง  
3.ศิลปะในกลุ่มศิลปะหลังสมัยใหม่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมซึ่งมักสร้างผลงานที่เป็นศิลปะต่อต้าน  ต่อสู้เรียกร้องสังคมและการเมือง
4.กลุ่มศิลปินหลังสมัยใหม่จะเป็นปฏิปักษ์กับระบบความคิดแบบศิลปะสมัยใหม่ ซึ่งกลุ่มศิลปะสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับจิตสำนึก แต่กลุ่มศิลปะหลังสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับอดีตจะหยิบเอาสาระจากอดีตมาใส่เป็นบริบทใหม่        
5.กลุ่มความคิดแบบหลังสมัยใหม่ไม่เชื่อเรื่องความเป็นไปได้ในการสื่อสารอันเป็นสากลหรือภาษาสากลตรงข้ามกับกลุ่มสมัยใหม่ที่เชื่อและแสวงสิ่งอันเป็นสากล

ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงความสามารถพิเศษ  
เป็นการบูรณาการแนวความคิดทั้งแนวคิดด้านความคิดทั้งแนวคิดทางด้านความสามารถพิเศษ แนวคิดทางด้านจิตวิทยาศิลปะ แนวคิดเกี่ยวกับสมองและการสร้างสรรค์ศิลปะจนก่อให้เกิดแนวคิดหลัก CISST ที่ใช้ในการพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางทัศนศิลป์” 
     จากบริบทดังกล่าว การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาหรือตามศาสตร์พหุศิลปศึกษา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการจัดกิจกรรมศิลปศึกษาในมิติใหม่บนฐานแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลาย  เป็นกิจกรรมศิลปศึกษาแบบบูรณาการ  เป็นกิจกรรมศิลปศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน
……………………………………….
เอกสารอ้างอิง
วิรุณ ตั้งเจริญ.  (2545). พหุศิลปศึกษา.  กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.
เสรี  พงศ์พิศ.  (2545).  ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน.   กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น